62597639_2748860801855006_1732838670496432128_o

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change วันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตผู้คนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั่วโลกนั้นเห็นได้อย่างชัดเจน หลายคนอาจจะรู้สึกได้จากฤดูร้อนที่ร้อนขึ้นกว่าในอดีต คุณรู้หรือไม่ว่า ใน 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2014 – 2018 ถือเป็นช่วงเวลาที่โลกเรามีอุณหภูมิสูงที่สุดในประวัติศาสตร์โลกที่เคยถูกบันทึกตลอด 139 ปีโดย National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) (อุณหภูมิเฉลี่ยของทั้งปี 2019 ยังไม่ออก) นอกจากอากาศที่ร้อนขึ้นแล้ว Climate Change ยังเป็นต้นเหตุของภัยพิบัติทางธรรมชาติมากมาย ในปี 2018 โลกสูญเสีย 6.7 ล้านล้านบาท โดยมีคนกว่า 60 ล้านคนรับผลกระทบจากภัยพิบัติเหล่านั้น

ถ้าตัวเลขขนาดนี้ยังไม่ทำเราคุณตกใจ ผลการศึกษาจาก University of East Anglia, the James Cook University และ World Wildlife Fund บอกว่า สิ่งมีชีวิตหลายพันชนิดจะสูญพันธุ์ในช่วงชีวิตของเราจากผลลัพธ์ของ Climate Change และหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเพียง 4.5 องศาเซลเซียส (ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดศตวรรษนี้) พันธุ์พืชและสัตว์จะหายไปเกือบครึ่งในถิ่นกำเนิดของมัน สิ้นศตวรรษหรือปี 2100 อาจจะดูห่างไกลสำหรับหลายๆ คน แต่อาจจะเป็นยุคที่เด็กๆ ที่เป็นลูกหลานของเราต้องพบเจอในอนาคต หากเราไม่ร่วมกันรับมืออย่างจริงจัง

พอรู้เช่นนี้แล้ว คุณคิดว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหา Climate Change อย่างจริงจัง เราจึงอยากเสนอ 5 วิธีการรับมือ Climate Change ที่ได้ผลที่สุด แนะนำให้เพื่อนๆ ได้ลองนำมาปรับใช้ ทีมงาน Socialgiver เชื่อโดยเสมอมาว่า การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นได้จากการเริ่มต้นเล็กๆ ที่ตัวเรา

1) เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถ สามารถลด Climate Change ได้มากที่สุด

62367922_2748863138521439_5107440229250236416_n

สิ่งสำคัญที่สุดในการรับมือกับ Climate Change คือ การจำกัดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้โดยเฉพาะ พลังงานที่เราใช้ในการเดินทางและการใช้ไฟฟ้า ถือเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีผลให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากที่สุด

จากรายงานปี 2017 โดยนิโคลาส จากศูนย์การศึกษาความยั่งยืน Lund University (LUCSUS) ได้กล่าวว่า การเลือกที่จะไม่ใช่รถยนต์ส่วนตัวเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจาก 148 ทางเลือกที่สามารถลดปัญหา Climate Change ในระดับบุคคลที่สามารถทำได้จริง โดยเราสามารถเลือกเดินทางด้วยวิธีอื่นๆ แทน เช่น การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การขี่จักรยาน และการเดิน

หลายคนอาจจะคิดว่า ถ้าเราทำปรับตัวอยู่คนเดียว มันจะได้ผลซักเท่าไรกันเชียว? – ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเชื่อว่า ผลจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาวของคนหนึ่งคน รวมทั้งโอกาสที่พฤติกรรมของบุคคลนั้นจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้อื่นที่อยู่รอบข้างเป็นไปได้มาก เพราะฉะนั้น จุดเริ่มต้นจากคนคนเดียวหรือคนกลุ่มเล็กๆ ในระยะยาวก็สามารถเป็นต้นแบบ และก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงที่กว้างขวางขึ้นได้

2) เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดการทานเนื้อแดง

64249434_2748863155188104_1316208932770807808_n

ธุรกิจอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิด Climate Change เป็นอันดับ 2 รองจากอุตสหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะการผลิตเนื้อ (โดยเฉพาะเนื้อวัวและเนื้อหมู) รวมทั้งผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม มีการประเมินว่า หากสัตว์ประเภทวัวควายความมีประเทศเป็นของตัวเองเอง ประเทศนั้นจะเป็นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 3 รองจาก 2 ชาติมหาอำนาจอย่างประเทศจีนและประเทศสหรัฐอเมริกา เลยทีเดียว

บางคนอาจจะสงสัยว่าวัวควายปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไร? – คำตอบคือ การเรอเพื่อไล่ลมออก ในขบวนการย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องจะปล่อยสารมีเทนออกมามาก รวมทั้งขั้นตอนการผลิตอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์เหล่านี้ เช่น ข้าวโพดและถั่วเหลือง จะต้องใช้พลังงาน ที่ดิน ปุ๋ยและน้ำในปริมาณมาก อีกทั้งขั้นตอนการผลิตเนื้อในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับการผลิตอาหารอื่นๆ หากเราสามารถลดปริมาณการบริโภคสัตว์เนื้อแดงได้ครึ่งหนึ่ง เราจะสามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) จากอาหารได้กว่า 40% เลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี ไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องเปลี่ยนทานมังสวิรัติเพื่อช่วยโลก แต่การปรับตัวเป็น “Flexitarian” โดยทานโปรตีนจากสัตว์เนื้อแดงน้อยลง นอกจากจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีนัยสำคัญแล้ว ยังดีต่อสุขภาพของคุณอีกด้ว

3) ใช้พลังงานหมุนเวียน สนับสนุนพลังงานสะอาด

62202851_2748861481854938_7464064195877666816_n

นอกจากลดการใช้พลังงานแล้ว อีกวิธีที่ควรทำควบคู่กันคือการเลือกใช้พลังงานหมุนเวียนแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล ปัจจุบัน พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และชีวพลังงานเริ่มมีราคาถูกลงทั่วโลก และจำนวนผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงานสะอาดก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายงานปี 2018 จาก International Renewable Energy Agency (Irena) ระบุว่าราคาพลังงานหมุนเวียนจะอยู่ในระดับเดียวกันหรือราคาถูกกว่าราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลในภายในปี 2020 ซึ่งหากผู้ผลิต ผู้บริโภค รวมถึงภาครัฐปรับมาให้ความสำคัญพลังงานหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น เช่น ลงทุนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่หลังคาบ้านและโรงงาน สนับสนุนอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสะอาด อาธิ รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยลดก๊าซเลือนกระจกแล้ว ยังเป็นการปรับตัวเพื่อรองรับอนาคตอีกด้วย

4) ศึกษาข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ก่อนช็อป

62518804_2748863141854772_5264214352394715136_n

แน่นอนว่า สิ่งของทุกอย่างที่คุณซื้อมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ไม่ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเกิดจากขั้นตอนการผลิตและ/หรือการขนส่ง เช่น สำหรับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มมีส่วนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 3% จากปริมาณการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมด

ในประเทศไทย มีฉลากคาร์บอนอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ 1) ฉลากลดคาร์บอน (Carbon Label) 2. ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Label) และ 3) ฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Reduction Label) ซึ่งทั้ง 3 ประเภทแสดงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้บริโภคใช้ในการตัดสินใจชื้อสินค้า สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.environnet.in.th/archives/1496

5. การใช้สิทธิ์ในการเรียกร้องและเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

62605175_2748861468521606_9026821594516815872_n

เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน ในฐานะที่เป็นทั้งพลเมืองและผู้บริโภค เราสามารถใช้สิทธิ์ต่อรองเพื่อช่วยโลกใบนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกมารณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม ทั้งผ่านโลกออนไลน์หรือการออกมาประท้วงบนท้องถนนเพื่อกดดันรัฐบาลและภาคเอกชนให้เปลี่ยนแปลงในเชิงระบบอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ การเลือกไม่สนับสนุนหรือยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานเชื้อฟอสซิลหรือธุรกิจที่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมก็สามารถใช้ได้ผล วิธีนี้มักถูกใช้กันในกลุ่มของนักลงทุน นักวิชาการ นักศึกษา หรือแม้กระทั่งกลุ่มศาสนา ซึ่งเราทุกคนสามารถเลือกที่จะถอนการลงทุน หลีกเลี่ยงทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำร้ายสิ่่งแวดล้อมเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือกำไรให้กับธุรกิจเป็นหลัก

 

Share: