Walking alongside the Big Trees Conservation Foundation team and other tree-loving communities, we got a chance to see the city we grew up in in a whole new way.
The most popular green space right now is undeniably the “Benjakitti Forest Park,” a public park that brings the forest into the city on an area of over 300 rai (approximately 120 acres).
While for some, 2022 has been about coming out of hibernation, for us the year has been about keeping our foot on the pedal – something we have been doing ever since the escalation and urgency of support needed for social workers over the past 3 years.
เปิดศักราชใหม่ด้วยความตั้งใจเต็มเปี่ยมที่จะผลักดันให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าในช่วงต้นปี 2022 จะยังมีกระแสการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธ์ุต่าง ๆ แต่พวกเราทีมงาน Socialgiver, โครงการเพื่อสังคม และธุรกิจใจดี ก็ยังตั้งใจทำงานอย่างมีเป้าหมายตลอดทั้งปีเพื่อขับเคลื่อนชุมชนนักสร้างสรรค์ระบบนิเวศแห่งการให้ ให้เติบโตอย่างยั่งยืนและแข็งแรง
สรุปภาพรวมการทำงานในช่วงปลายปี 2565
กันยายน เดือนแห่ง Offline Event ของชาว Socialgiver และโครงการเพื่อสังคม นับเป็นการจบไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 ด้วยกิจกรรมอย่างคึกคักมากมาย
ตามไปดูกิจกรรมจากโครงการเพื่อสังคมที่ได้อาสาสมัครใจดีจากภาคส่วนต่าง ๆ มาร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยกัน
เนื่องในโอกาสวันที่ 10 กันยายน ซึ่งเป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day) Socialgiver และ แอปพลิเคชัน Sati จึงอยากใช้โอกาสนี้ ชวนเล่ามุมมองการดูแลสุขภาพของกันและกัน ผ่านบทสัมภาณ์ของบุคคลที่อยู่ในแวดวงที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจิตในหลากหลายหน้าที่ เพื่อเป็นไอเดียและส่งมอบกำลังใจให้กับคนที่กำลังเป็นผู้ดูแลหรือเผชิญเรื่องนี้อยู่เช่นกัน…
Let’s Talk About Meaningful Travel with Lub d! A unique and sustainable travel accommodation that attracts explorers from all over the world.
“เมื่อความต้องการพิเศษ…นำมาซึ่งสายสัมพันธ์ที่พิเศษกว่าของคนในครอบครัว”
…..เรื่องราวของคุณล้วนและน้องซันซัน ผู้รับการบำบัดด้วยศาสตร์วอยต้าและมุมมองของชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
” ค่ะ ก็ประกอบธุรกิจส่วนตัวมาก่อน ตอนที่มีน้องและรู้ว่าน้องเป็นเด็กพิเศษก็พยายามหาวิธีรักษาต่างๆ เท่าที่หาได้ อย่างแรกเลยคือน้องซันซันมีพัฒนาการช้า ยังชันคอไม่ได้ตามเกณฑ์อายุ ช่วงนั้นใครบอกที่ไหนดี ที่ไหนได้ผลเราไปมาหมด…แต่ก็ยังไม่ได้ผลกับน้องเท่าไหร่ กระทั่งได้พบคุณวอลเตอร์ ลี(ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ ซาย มูฟเม้นท์) จึงติดต่อขอคำแนะนำและเริ่มการบำบัดด้วยวอยต้าค่ะ ”
> ช่วยเล่าความท้าทายในฐานะของคนเป็นแม่และดูแลน้องเป็นอย่างไร
” ในตอนนั้นกังวลมาก ไม่รู้ว่าอาการของลูกเราเป็นอะไรบ้าง จะเป็นเท่านี้หรือจะหนักไปมากกว่านี้ แล้วยังมีอาการที่มาพบภายหลัง อย่าง ซันซันมีอาการ Facial Palsy คือน้องกะพริบตาไม่ได้ เราก็ต้องดูแลใกล้ชิดมากกว่าเดิม หากไม่ดูแลน้องอาจถึงขั้นตาบอด ซันซันมีอาการหลายอย่างต้องดูแลหลายส่วน ตัวเราเองก็อยากให้น้องดีขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ยากมากคือการตัดสินใจว่าจะรักษาน้องแบบไหน เพราะไปแต่ละที่ก็รักษาต่างกัน อย่างตอนที่มาคลินิค วอยต้า หมอก็บอกให้เราหยุดรักษาแบบอื่นและมาเริ่มต้นใหม่เลย ตอนนั้นนับว่าเสี่ยงและตัดสินใจยากมากๆ ค่ะ”
> แล้วช่วงนั้นตัดสินใจบำบัดแบบวอยต้าแล้ว เป็นอย่างไร?
” น้องซันซันมีกลุ่มอาการ Mobius Syndrome คือมีอาการซ้อนกันหลายอย่าง ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าทำงานได้ไม่เต็มที่ และยังมีปัญหากับระบบประสาทดวงตาและการทรงตัวต่างๆ ร่วมกัน แต่พอได้ลองมาบำบัดวอยต้า น้องมีอาการดีขึ้นมาก น้องให้ความร่วมมือในการบำบัดอย่างดี ทำให้เราแม่ลูกได้ใช้เวลาด้วยกัน อย่างการฝึกภาษามือก็เริ่มต้นเรียนไปด้วยกันค่ะ”
> ในเวลานั้น มูลนิธิ ซาย มูฟเม้นท์ ให้ความช่วยเหลือและดูแลอย่างไรบ้าง?
“มูลนิธิ ซาย มูฟเม้นท์ ช่วยได้เยอะมาก อย่างการที่เรามีซันซันก็ทำให้พี่เปลี่ยนมุมมองนะ รับรู้ได้ว่าทุกคนยินดีช่วยเหลือเรา มันเป็นพลังบวกที่ส่งต่อกันเป็นทอดๆ ทั้งกับกลุ่มผู้ปกครองเด็กพิเศษหรือกับกลุ่มอาสาสมัครที่มาช่วย”
> วิธีการบำบัดแบบวอยต้าได้ผลลัพธ์อย่างไรกับน้องซันซัน?
” เทียบกับวิธีอื่นที่เคยใช้มา พี่ว่า วอยต้า ทำให้เห็นพัฒนาการของซันซันที่ดีขึ้นมาก แต่เราก็ต้องมีวินัยและใช้เวลาในการบำบัดเหมือนกัน อย่างตอนที่บำบัดจนน้องนั่งได้นี่ใช้เวลา 1 ปีเลยนะ จากแต่ก่อนที่น้องชันคอยังไม่ได้จนน้องมานั่งได้ คนเป็นแม่ก็ดีใจที่ได้เห็นลูกเราดีขึ้น จุดเด่นของตัววอยต้าอยู่ที่การใช้ “มือและหัวใจ” นักกายภาพบำบัดจะสอนวิธีบำบัดให้ผู้ปกครองแล้วเราก็ต้องทำหน้าที่บำบัดระหว่างที่จะมาหานักบำบัดอีกครั้ง พอเรากดบำบัดร่างกายน้องก็จะเป็นการกระตุ้นระบบประสาทให้จดจำไปพร้อมกัน ทำให้น้องสามารถเคลื่อนไหวตัวได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ”
> คุณล้วนมีคำแนะนำหรืออยากฝากอะไรถึงผู้ปกครองที่มีน้องเป็นเด็กพิเศษบ้าง?
” อย่างแรกเลยคือผู้ปกครองต้องไม่เปรียบเทียบ ไม่เทียบก็ไม่ทุกข์ ลูกเราเป็นแบบนี้ เราอยากให้เขาเติบโตไปในทิศทางไหนก็กำหนดให้ชัดเจน แล้วค่อยๆ ทำไปตามทางนั้น มองในอีกมุมว่าอย่างน้อยน้องก็ไม่ดื้อ ไม่ซน ไม่หนีเราไปไหน ทำให้เกิดความสุขอีกแบบ เราก็ได้เติบโตไปพร้อมกับลูก ถ้าเราหยุด ก็เท่ากับว่าเขาหยุดที่จะเติบโตเช่นกัน สำคัญที่สุด “เด็กไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองด้อย ถ้าเราไม่ทำให้เขารู้สึกด้อย” ความรู้สึกเป็นสิ่งที่ส่งต่อกันได้ ถ้าคนเป็นพ่อ เป็นแม่ยังรับลูกตัวเองไม่ได้ แล้วใครจะรับได้ ภูมิใจในสิ่งที่ลูกเป็นและทำให้เขามีความสุขมากที่สุดค่ะ”
Socialgiver ขอขอบคุณเรื่องราวดีๆ และการแบ่งปันประสบการณ์จาก คุณล้วน (คุณกรวรา อัศวลาภนิรันดร) คุณแม่ของน้องซันซัน และ ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการมูลนิธิ ซาย มูฟเม้นท์
วอยต้า (Vojta) ศาสตร์บำบัดทางเลือก ความหวังใหม่สำหรับเด็กและผู้มีปัญหาในการเคลื่อนไหว
> การบำบัดแบบวอยต้า (Vojta Therapy) คืออะไร?
ในการเรียนการบำบัดวอยต้ามีรายละเอียดเยอะค่ะ คนที่เรียนได้จะต้องเป็นนักกายภาพบำบัดและมีประสบการณ์ตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งการบำบัดนี้จะมีการวาง Pattern ให้ร่างกายเกิดการเรียนรู้ในการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ ให้ร่างกายสามารถจดจำรูปแบบของการเคลื่อนไหวได้ เมื่อร่างกายและระบบประสาทเรียนรู้แล้ว อย่างเด็กที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว เด็กจะสามารถอยู่ในท่าทางนั้นๆ ได้อย่างอัตโนมัติค่ะ แต่ในช่วงการบำบัดแรกๆ เด็กอาจยังไม่เข้าใจ อาจมีการกลัวและเกิดร้องไห้ได้ ซึ่งต้องอธิบายว่าการบำบัดนี้ไม่ใช่การทำให้เด็กเจ็บแต่แค่ทำให้กล้ามเนื้อที่ไม่ได้ทำงานเกิด Reflex เท่านั้น
> ในการบำบัดแต่ละสัปดาห์ ต้องคอยฝึกย้ำๆ หรือเปลี่ยนท่าทางในการบำบัดเลย?
จริงๆ การรักษาด้วยวิธีนี้ เราต้องมีการประเมินทุกครั้งก่อนรักษา ถ้าหากมีปัญหา ต้องดูว่าเป็นปัญหาส่วนไหน วิเคราะห์เป็นส่วนๆ ไปเลย เช่นว่า ณ ตอนนี้ยังเป็นปัญหาเดิมอยู่ก็อาจต้องใช้ท่าเดิมค่ะ แต่ถ้าไม่มีปัญหาเดิมแล้วก็เปลี่ยนท่าได้ ศาสตร์วอยต้ามีท่าทางสำหรับกดบำบัดเยอะนะ นับดูก็มากกว่า 12 ท่าเลยค่ะ โดยแต่ละท่าก็จะมีรายละเอียดในการใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยเน้นการทำงานของร่างกายร่วมกัน ไม่ใช่แค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง อย่างเด็กจะชันคอก็ต้องให้เด็กฝึกกล้ามเนื้อช่วงตัว กล้ามเนื้ออกและช่วงคอด้วย เขาถึงจะสามารถชันคอขึ้นมาได้ เป็นต้น
> ช่วยเล่าตัวอย่างของน้องที่บำบัดด้วยวอยต้าแล้วได้ผล แล้วน้องเป็นอย่างไรบ้าง?
จะมีเคสนึงที่ฝึกตั้งแต่กบเริ่มวอยต้าทำจนถึงปัจจุบัน ก็สองสามปีแล้ว พอได้ทำแล้วน้องเห็นผล คือน้องสามารถขยับและเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็ให้ความร่วมมือในการทำการบำบัดร่วมกับเรา จากที่น้องเดินไม่ได้เลย จนตอนนี้สามารถเดินไปไหนมาไหนเองได้แล้ว สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเองค่ะ กบว่ามันเป็นอะไรที่ดีมากๆ ทั้งเรา ทั้งครอบครัวน้องก็ดีใจที่ได้เห็นพัฒนาการตรงนี้
>การบำบัดวอยต้าใช้เวลาเท่าไหร่ที่ร่างกายของผู้บำบัดถึงจะจดจำการเคลื่อนไหวได้?
ผลลัพธ์ก็ขึ้นอยู่กับทุกฝ่ายนะคะ เพราะนักบำบัดก็ทำได้ส่วนหนึ่ง ผู้ปกครองต้องให้ความร่วมมือในการกดและบำบัดต่อเมื่ออยู่บ้าน ถ้าไม่ทำเลยมันก็ไม่เห็นผล และอีกอย่างคือตัวน้องเองก็ต้องพยายามด้วย หากเด็กเข้าใจและสามารถช่วยเหลือผู้ปกครองได้เพิ่ม ก็จะยิ่งส่งผลดีมาก อย่างน้องบางคนบอกผู้ปกครองได้เลยนะว่ากดผิด กดตรงนี้แล้วไม่รู้สึกให้เปลี่ยนตำแหน่ง อะไรแบบนี้ค่ะ ถ้าถามว่านานแค่ไหนก็ต้องอยู่ที่ว่าการบำบัดนั้นเสถียรหรือยัง ซึ่งใช้เวลาแต่ละเคสไม่เท่ากัน คำว่าเสถียรนี้คือทำแล้ว น้องไม่กลับไปจุดเดิมอีกแม้จะไม่ได้บำบัดต่อ ถ้าทำถึงจุดที่น้องไม่ต้องมาคอยกระตุ้นซ้ำเมื่อไหร่ นั่นก็แปลว่าร่างกายน้องจดจำการเคลื่อนไหวได้แล้วค่ะ
>ถ้ามีนักบำบัดวอยต้าเพิ่มขึ้น จะดีมากน้อยแค่ไหน?
จริงๆ อยากให้ทุกคนได้รับรู้นะ วอยต้าไม่ได้มีประโยชน์แค่กับเด็ก ศาสตร์นี้ใช้ได้กับคนทุกวัย เพราะคนที่คิดเป็นหมอระบบประสาท จึงสามารถใช้วอยต้าแก้ได้ทั้งระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อ คือสามารถทำได้และช่วยให้คนไข้ประหยัดเพราะใช้อุปกรณ์ไม่มาก คนไข้เข้าถึงการรักษาเพิ่มมากขึ้น ถ้ามีเยอะก็ดี ซึ่งตอนนี้นักบำบัดวอยต้ารุ่นนึง มี 25 คน ก็อยากให้มีการเปิดอบรมเพิ่มค่ะ
Socialgiver ขอขอบคุณเรื่องราวดีๆ และการแบ่งปันประสบการณ์จาก คุณกบ (คุณวันทนี ทองผิว) นักกายภาพบำบัดจากคลินิควอยต้าแห่งแรกในประเทศไทยที่สถาบันราชานุกูล ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Zy Movement Foundation ให้ได้รับการอบรมที่ประเทศเยอรมันนีในปี 2558
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการ Zy Movement ที่ http://bit.ly/2fyKLxW
“IKIGAI” – The Japanese secret to a long and happy life
หลายคนที่ประสบความสำเร็จนั้นมักจะรักในสิ่งที่ตัวของเค้าทำ อยากเรียนรู้และทำให้ดีขึ้นในทุกๆวัน
แมัว่าจะมีความเครียดบ้างแต่เป็นความเครียดเพื่อเป็นแรงผลักดันให้หาวิธีการเดินไปข้างหน้า ไปยังเป้าหมายใหม่ๆ ที่สนุกขึ้นท้าทายขึ้น
.
IKIGAI (อิคิไก) คือ ศาสตร์ที่ช่วยไขข้อข้องใจว่าเหตุผลในการตื่นมาใช้ชีวิตของเราในทุกๆ วัน นั้น คืออะไร หรืออีกนัยยะคือความหมายในการมีชีวิตอยู่นั่นเอง ซึ่ง IKIGAI นี้เป็นสิ่งซ่อนอยู่ภายในตัวเรา ซึ่งต้องใช้ความพยายามและความอดทนในการค้นหามันให้เจอ
.
และนี่เป็น กฎ 10 ข้อของ IKIGAI ศิลปะในการใช้ชีวิตที่ Socialgiver อยากจะแบ่งปันให้ทุกท่านได้ร่วมค้นหาไปด้วยกัน
1) Stay active; don’t retire กระตือรือร้นกับชีวิตแบบไม่มีวันเกษียณ
เรียนรู้และตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ๆ ต่างๆ ในโลก รักในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่สำคัญและมีคุณค่าต่อชีวิตตนเอง ทำหน้าที่ตนเองให้ดีที่สุด มีความก้าวหน้าทุกๆวัน และชื่นชมสิ่งดีๆ รอบตัว
2) Take it slow ทำอะไรให้ช้าลง
เอ๊ะ!! อย่าเพิ่งงง ว่าขัดกับข้อแรกมั๊ย ที่จริงแล้วคือการคิดใคร่ครวญสิ่งต่างๆ ก่อนลงมือทำ มีวิสัยทัศน์และแผนงานที่ดีก่อน ว่าหากทำสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้วจะเกิดผลลัพธ์อะไรขึ้นบ้าง ไม่ใช่กระตือรือร้นจนลนแบบทำอะไรรีบๆ ไม่ได้มองภาพใหญ่ระยะยาว
3) Don’t fill your stomach อย่ากินให้อิ่มเกินไป
หากอยากมีสุขภาพดี อายุยืน ต้องใช้กฎ 80 เปอร์เซ็นต์ ที่เรียกว่า hara hachibu คือให้หยุดกินทันทีเมื่อรู้สึกอิ่มแล้ว หรือคิดเป็นปริมาณ 1,200 – 1,500 แคลเลอรีต่อวันเท่านั้น โดยเน้นอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นกลุ่มผักและผลไม้สดทั่วๆ ไป
4) Surrounding yourself with good friends แวดล้อมด้วยเพื่อนดีๆ
เพื่อนคือยาที่ดีที่สุด การได้รับฟัง พูดคุย แบ่งปันทุกข์สุขกันกับเพื่อนๆ ให้คำแนะนำกันบ้าง หัวเราะขำขันกันบ้าง ไปเที่ยวด้วยกันบ้าง ทำให้ชีวิตของเรามีชีวาขึ้นทุกๆ วัน ซึ่งจากงานวิจัยหลายที่ต่างให้ข้อมูลตรงกันว่า ความสัมพันธ์ที่ดี นำไปสู่สุขภาพจิตที่ดีและทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายนั้นดีขึ้นอีกด้วย
5) Get in shape for your next birthday ฟิตร่างกายให้ดีต้อนรับวันเกิดปีหน้า
ร่างกายก็ต้องการได้รับการดูแลบำรุงรักษา คล้ายเครื่องยนต์ที่หากใช้งานทุกวันก็ต้องเสื่อมไปบ้างเป็นธรรมดา การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วยังผลิตฮอร์โมนเพื่อช่วยทำให้เรามีความสุขอีกด้วย
6) Smile ยิ้มเข้าไว้
การยิ้มทำให้จิตใจผ่อนคลายแล้วยังช่วยทำให้เรามีเพื่อนเพิ่มขึ้นได้ง่ายๆ เพราะกลไกทางจิตใจเรามีระบบจดจำความรู้สึกอัตโนมัติ (Facial expression effect) ที่ทำให้เรารับรู้ว่าหากเรายิ้ม อารมณ์เราจะดีขึ้น
7) Reconnect with nature เชื่อมต่อกับธรรมชาติ
เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนตามแหล่งธรรมชาติต่างๆ เช่น ทะเล ภูเขา น้ำตก เพื่อชาร์ตแบตเตอรี่เพิ่มพลังงานให้ตัวเองอยู่เสมอๆ เพราะเราต่างเชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและโลกใบนี้ การได้รับออกซิเจนที่มากพอ ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ คือความสุขโดยธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน
8) Give thanks ขอบคุณในสิ่งที่เรามี
ความรู้สึกขอบคุณและกตัญญูต่อบุคคลและสิ่งต่างๆ เริ่มตั้งแต่บรรพบุรุษ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม อาหาร และสิ่งที่เรามี จะทำให้เรารู้สึกโชคดีที่ได้มีชีวิตอยู่และจะยิ่งเพิ่มพูนความสุขให้เราในทุกๆ วัน
9) Live the moment อยู่กับปัจจุบันขณะ
หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตและกลัวหรือกังวลสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต “วันนี้” และ “ขณะนี้” คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ!! ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าและน่าจดจำ เพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมาและผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และหาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน
10) Follow your IKIGAI จงออกตามหา IKIGAI ของคุณ !
มนุษย์ทุกคนมีความรักความหลงใหลและพรสวรรค์บางอย่างอยู่ในตัวเรา ที่จะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างมีความหมายในทุกๆ วัน และขับเคลื่อนชีวิตเราไปข้างหน้าจนกว่าจะถึงวันสุดท้ายของชีวิต หากคุณยังหา IKIGAI ของคุณไม่เจอก็ไม่เป็นไร ภารกิจของคุณก็คือ “ออกตามหามันซะ!!”
ที่มา World Economic Forum
กระแส Social Enterprise หรือ กิจการเพื่อสังคมในขณะนี้กำลังมาแรงสุดๆ ด้วยรูปแบบธุรกิจที่ตอบโจทย์ทั้งคุณภาพสินค้าและการช่วยเหลือสังคมในเวลาเดียวกัน เพื่อไม่ให้เป็นการตกเทรนด์ เราจึงขอพาคุณไปทำความรู้จักกับกิจการเพื่อสังคมรุ่นใหม่ไฟแรงที่จะช่วยให้คุณได้เป็นผู้นำเทรนด์ในการใช้จ่ายออนไลน์และช่วยเหลือสังคมไปพร้อมๆ กันครับ
Siam organic ธุรกิจด้านเกษตรกรรม
บริษัทผลิตสินค้าออร์แกนิคเกรดพิเศษในชื่อ Jasberry โดยปราศจากการ GMO หรือสารเคมีในการผลิต ซึ่งมีการส่งเสริมให้เกษตรกรท้องถิ่นในภาคอีสานให้มีรายได้จากการทำการเกษตรอินทรีย์อย่างถูกวิธีไปพร้อมกับการเติบโตของแบรนด์ กิจการเพื่อสังคมที่ดูแลส่งเสริมกันทั้งฝั่งผู้บิรโภคและเกษตรกรอย่างยั่งยืนแท้จริง ชมตัวอย่างสินค้าและเรื่องราวของ Siam organic เพียงกดอ่านรายละเอียดตรงนี้ได้เลย
Bright Sprout โครงการต้นกล้าสดใส ธุรกิจด้านเกษตรกรรม
หนึ่งในกิจการที่ได้รับรางวัลจากโครงการ “กล้าใหม่…สร้างสรรค์ชุมชน ปี 9 ” โดย SCB Challenge ซึ่งน้องๆ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา ลำปาง ที่ออกแบบแปลงผักและช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถสร้างรายได้และนำไปขายเป็นผักปลอดสารพิษ ส่งเสริมอาชีพและสร้างตลาดแรงงานให้กับผู้พิการทางสายตาให้สามรถทำงานและสร้างรายได้ด้วยตนเอง มารับชมวิดิโอบอกเล่าเรื่องราวเจ๋งๆ กันเถอะ
Globish Academia ธุรกิจด้านการศึกษา
Globish Academia ธุรกิจด้านการศึกษา Startup สอนภาษาอังกฤษด้วยอาจารย์ชาวต่างชาติ ผ่านระบบ internet ด้วยโปรแกรมวิดิโอคอลอย่าง Appear.in โดยให้ผู้เรียนสามารถลงเวลาเรียนเองได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน เน้นฝึกด้านการฟังและการพูดโดยเฉพาะ และสิ่งที่ยิ่งน่าสนใจคือทาง Globish Academia ได้ทำโครงการเปิดโอกาสให้กับผู้พิการให้ได้เรียนภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปสร้างโอกาสในการทำงาน ด้วยระบบการเรียนออนไลน์ที่ไม่ต้องเดินทาง สามารถเรียนได้ที่บ้าน รวมถึงค่าเรียนที่ไม่แพงและมีภาครัฐช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่าย ทำให้ช่วยลดช่องว่างทางการศึกษาในกลุ่มผู้พิการ เพิ่มโอกาสและความสามารถในการทำงานของผู้พิการ ถ้าสนใจฝึกพูดภาษาอังกฤษออนไลน์กับ Startup ใจดีอย่าง Globish Academia ลองเข้าไปดูรายละเอียดที่นี่ได้เลย
Folkrice ธุรกิจด้านเกษตรกรรม
จากความตั้งใจที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรไทยและรักษาพันธุ์ข้าวท้องถิ่น ของคนหนุ่มไฟแรงอย่างคุณ อนุกุล ทรายเพชร ได้พัฒนาแพลตฟอร์มและแอพพลิเคชั่นสำหรับเชื่อมต่อผู้บริโภคและชาวนาที่เป็นผู้ผลิตโดยตรง โดยผู้บริโภคสามารถเลือกชนิดและพันธุ์ข้าวท้องถิ่นได้ตามต้องการในราคาที่ยุติธรรมกับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อให้ชาวนาสามารถคงพันธุ์ข้าวที่หลากหลายและมีคุณภาพให้กับตลาด อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่นี่ และดาวน์โหลด application: Folkrice ได้ทั้งระบบ iOS และ Android แล้ว
Hivester ธุรกิจด้านท่องเที่ยว
กิจการเพื่อสังคมที่ช่วยชุบชีวิตให้ชุมชนกลับคืนมาอีกครั้ง จากการพยายามฟื้นฟูวิถีท่องถิ่นในชุมชนนั้นๆ อย่างการทำขนมไทย ทำบาตรพระหรือการรำชาตรีที่ค่อยๆ สูญหายไปตามกาลเวลา Hivester(ไฮวฟ์สเตอร์) จึงผลักดันเศรษฐกิจในชุมชนผ่านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีทริปให้ลงไปสัมผัสความเป็นอยู่ ธรรมชาติและวิถีชีวิตของชาวบ้านพร้อมกระจายรายได้ให้กับชุมชนเพื่อเกิดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่สนุกสนานตลอดทริป สนใจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เข้าไปได้เลย
Once again hostel ธุรกิจโรงแรมและที่พัก
ที่พักนักเดินทางที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเก่า ไม่ไกลจากชุมชนท้องถิ่นที่ยังมีชีวิตชีวา โฮสเทลแห่งนี้ดำเนินการภายใต้แนวคิดธุรกิจเกื้อกูล (Inclusive Business) โดยไม่ทำธุรกิจซ้อนทับกับธุรกิจที่มีอยู่แล้วในชุมชน แต่ ส่งเสริมซึ่งกันและกัน สร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชนใกล้เคียง เริ่มจากชุมชนวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ ชุมชนป้อมมหากาฬ ชุมชนบ้านบาตรและชุมชนนางเลิ้ง ร่วมมือกับชาวบ้านพัฒนาชุมชน มีโฮสเทลเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ทั้งสมาชิกชุมชน นักเดินทางและโฮสเทล ได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวร่วมกัน ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
Local alike ธุรกิจด้านท่องเที่ยว
หนึ่งใน Start up ที่มาแรงมากๆ ด้วยการผนวกการท่องเที่ยเชิงอนุรักษ์เข้ากับการจัดทริปและพัฒนาความเป็นอยู่ของช้าวบ้านในพื้นที่ชุมชน Local alike ได้สร้างเครือข่ายชุมชันและนำพานักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวิถีชาวบ้านทั้งการใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ กิจกรรมและงานฝีมือต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ผ่านความร่วมมือของชาวบ้าน ให้เกิดเป็นการท่องเที่ยวแบบ Community based ที่ได้ประโยชน์ทั้งชุมชน นักท่องเที่ยวและโครงการที่พัฒนาชุมชนนั้นๆ ติดตามการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวแบบใหม่ได้ที่นี่เลย
Socialgiver ธุรกิจด้านท่องเที่ยว
ปิดท้ายด้วย Socialgiver พื้นที่ออนไลน์มอบประสบการณ์ท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ โดยนำกำไรจากบัตรของขวัญทั้งหมดไปมอบให้โครงการเพื่อสังคมกว่า 15 โครงการที่ร่วมระดมทุน ให้เกิด “การท่องเที่ยวเพื่อสังคม” สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่ายทั้งธุรกิจ ผู้บริโภคและภาคสังคม ด้วยความตั้งใจในการสร้าง Giving ecosystem ให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างยั่งยืนผ่านการนำเสนอเรื่องราวของโครงการต่างๆ ด้วยสื่ออนไลน์และแนะนำบัตรของขวัญบนเวปไซต์ให้ได้เลือกกันอย่างจุใจมากกว่า 60 ใบ สามารถเลือกบัตรของขวัญดีๆ และติดตามโครงการที่สนใจได้ง่ายๆ ตรงนี้
Credit: เนื้อหา : www.asiaforgood.com/
ภาพประกอบ : www.siamorganic.net , www.globish.co.th , www.folkrice.com , www.hivesters.com , www.onceagainhostel.com , www.localalike.com
นอกจากอากาศที่ร้อนขึ้นแล้ว Climate Change ยังเป็นต้นเหตุของภัยพิบัติทางธรรมชาติมากมาย ในปี 2018 โลกสูญเสีย 6.7 ล้านล้านบาท โดยมีคนกว่า 60 ล้านคนรับผลกระทบจากภัยพิบัติเหล่านั้น…
วิธีการลงทะเบียนเพื่อขอรับรองมาตรฐานจาก SHA ก็ไม่ได้ยากเลย แต่หากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มที่ตรงไหน ก็มาเริ่มไปกับ Socialgiver ผ่านบทความนี้ได้เลย…
คนแบบไหนกันที่มาทำธุรกิจเป็นเจ้าของปางช้าง? อะไรเป็นแรงบันดาลใจของเขา? และอะไรที่เขาต้องการจากการทำธุรกิจนี้?
เราไม่รู้ว่าปางช้างอื่นๆเป็นมายังไง แต่ที่ Elephant Nature Park ปางช้างที่ได้ฉายาว่า “สวรรค์ของช้าง” มีจุดเริ่มต้น และ มีคำตอบของทุกคำถามด้านบน เป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งนั่นคือ “ความรัก”
เป็นความรักของคุณเล็ก หรือ “แม่เล็ก” ของทุกคนในปางช้าง (และของลูกช้างทุกเชือกในปางด้วย) กับหัวใจดวงใหญ่ที่มีให้กับช้าง ที่บาดเจ็บ พิการ จากการถูกใช้งานอย่างทรมาน
เมื่อทนเห็นความทรมานเหล่านี้ไม่ได้ คุณเล็กจึงจัดตั้งมูลนิธิ Save Elephant ขึ้นมาช่วยเหลือช้างบาดเจ็บ และพัฒนาที่ดินที่หาซื้อมาได้ให้เป็นเหมือนบ้านพักของช้าง
ปัจจุบัน บ้านพักฟื้นของช้างพิการและบาดเจ็บ หลังนั้น ก็กลายมาเป็น Elephant Nature Park มีช้างบาดเจ็บและพิการที่ได้รับการรักษาจนสุขภาพแข็งแรง (แต่ความพิการ หรือบาดเจ็บค่อนข้างรุนแรงและถาวร ทำให้ถึงแม้จะหายดีแล้วก็ยังคงมีความผิดปกติ เช่น ตาบอด ขากุดเพราะถูกกับระเบิด กระดูกงอถาวร เป็นต้น) และได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาศึกษาวิถีชีวิตของช้าง ทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เป็นการใช้แรงงานช้าง เช่น ป้อนอาหารหรืออาบน้ำให้ช้าง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอาสาสำหรับช่วยดูแลช้าง เช่น ปั้นอาหารให้ช้างแก่ รักษาพยาบาลช้าง เป็นต้น
ภาพที่เห็นได้ทั่วไปในปางช้าง Elephant Nature Park แห่งนี้ คือภาพช้างเดินเล่นเรื่อยเปื่อยไปในทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ล้อมรอบไปด้วยหุบเขา และมีกลุ่มคนที่เป็นนักท่องเที่ยวและอาสาสมัครเดินตาม เมื่อช้างหยุด กลุ่มคนก็หยุด บางคนพยายามเซลฟี่กับช้าง รูปจะสวยหรือไม่ก็ขึ้นกับว่าเจ้าช้างเชือกนั้นอารมณ์ดีหรือเปล่า บางทีก็ได้ป้อนอาหารช้าง แต่เมื่อช้างอิ่มและออกเดินต่อ กลุ่มคนเหล่านั้นต้องหยุดกิจกรรมป้อนอาหาร และออกเดินตามช้างต่อไป
ที่นี่ ช้าง คือศูนย์กลาง และปรัชญาของการเที่ยวที่ Elephant Nature Park คือการเข้าไปศึกษาชีวิตของช้าง เข้าไปรู้จักช้างในสิ่งที่พวกเขาเป็น ไม่มีการทำกิจกรรมที่มนุษย์บังคับช้าง เช่นการขี่ช้าง หรือการแสดงความสามารถแปลกๆ ของช้างที่ถูกมนุษย์ฝึกมา
แม้กระทั่งควาญช้าง ก็ยังไม่มีอุปกรณ์บังคับช้าง
การดูแลช้างที่นี่ ใช้ควาญช้าง 1 คนดูแลช้างประจำตัว 1 ตัว ภาพควาญช้างที่เราคุ้นเคยคือควาญขี่ช้าง แต่ที่นี่กลับเป็นภาพควาญช้างเดินตามช้าง เรียกว่าช้างอยากไปไหน ควาญช้างก็ต้องตามไป ตอนเย็นก็ต้องต้อนช้างเข้าคอก
ถามว่าถ้าช้างไม่ยอมไปเข้าคอก ทำยังไง?
คำตอบคือ
“รอ ต้องรอ นั่งรอ ยืนรอ จนกว่าคุณช้างจะอยากกลับเข้าบ้านไปเอง”
ความรักของคุณเล็กไม่หยุดแค่ช้าง ตอนนี้ ปางช้างจึงไม่ได้มีแค่ช้างบาดเจ็บ แต่มีควายที่ถูกช่วยมาจากการไถ่ชีวิต สุนัขพิการ ตาบอดบ้าง เหลือสองขาบ้าง สามขาบ้าง ม้าแก่เกษียรอายุที่ไม่มีใครต้องการแล้ว สัตว์ทุกอย่างที่ต้องการที่พักพิงเมื่อเจ้านายผู้ใช้งานเห็นว่าพวกมันหมดคุณค่า
ที่นี่ เมื่อเริ่มจากความรัก จึงเติบโตด้วยความรัก ดึงดูดผู้ที่มีความรักให้มาเยือน ไม่ว่าจะเป็นรักสัตว์ หรือรักคนด้วยกัน เพราะขนาดคู่รัก ข้าวใหม่ปลามัน ยังมาดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ Honey Moon กันที่นี่เลย คิดดู
สงสัยฝ่ายที่เป็นคนเลือกสถานที่คงอยากจะบอกกับคู่ชีวิตว่า “ฉันรักคุณมากเท่าช้างเลยนะ!”
อยากมาพิสูจน์รักแบบช้างๆ ต้องมาให้ได้ เพราะไม่ใช่แค่ความรักของคนต่อช้าง แต่ที่นี่ยังบอกเล่าเรื่องราวความรักของช้างต่อช้างในระดับชีวิตก็ไม่อาจพรากรักเราจากกันได้ให้เราได้รับรู้ หรือแม้กระทั้ง รักของช้างต่อคนในระดับเดียวกับหมาป่าที่มีให้เมาคลี หรือ คิงคองที่มีให้ทาร์ซาน ก็มีให้เห็น และ สัมผัสได้จริง ที่สวรรค์ของช้างแห่งนี้
Elephant Nature Park ตั้งอยู่ที่ อ.แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
หากสนใจไปเยี่ยมชม หรือ อยากอาสาสมัครไปดูแลช้าง ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.elephantnaturepark.org
By Kanravee Kittayarak
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา Socialgiver ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมโครงการสวนผักอินทรีย์ของพี่อรุษ นวราช ผู้บริหารวิศัยทัศน์ไกลแห่งโรงแรมสามพรานริเวอร์ไซด์ และเลขาธิการของมูลนิธิสังคมสุขใจ ผู้ริเริ่มโครงการเกษตรอินทรีย์ “สามพรานโมเดล” โครงการดีๆที่ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้วิถีธรรมชาติในการปลูกผักผลไม้แทนการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หลังจากใช้ชีวิตแบบมนุษย์เงินเดือนในกรุงเทพฯ พี่อรุษได้หันมาพัฒนาความสนใจในเรื่องสุขภาพทางเลือกและการออกกำลังกายจนทำให้ตดสินใจมาดูแลธุรกิจของครอบครัวอย่างเต็มตัว และเกิดแนวคิดที่จะทำเกษตรอินทรีย์ “เราคิดว่าเรามีพื้นที่ เรามีพื้นฐาน เพราะฉะนั้นตอนนั้นก็เลยคิดอยากจะปลูกผัก ผลไม้ ข้าวเป็นอินทรีย์ให้กับลูกค้า”
“สามพรานโมเดล” การเกษตรที่ยั่งยืน
เมื่อทดลองปลูกผักผลไม้และข้าวแบบอินทรีย์โดยตัวเองแล้วนั้น พี่อรุษก็พบข้อจำกัดทางด้านปริมาณการผลิตและความเชี่ยวชาญ “เราเริ่มปลูกผักมาใช้ที่ครัว แล้วก็เริ่มมีแปลงข้าวบ้าง มีผลไม้บ้าง แต่ก็ไม่ได้เยอะเพราะพื้นที่ของเราก็มีจำกัด ในขณะที่โรงแรมใช้ผักผลไม้กับข้าวเยอะมาก ปลูกยังไงก็ไม่พอและเราก็ไม่ใช่มืออาชีพ” จุดนี้เองทำให้พี่อรุษเริ่มติดต่อให้เกษตรกรในบริวรรอบๆให้ปลูกผักผลไม้อินทรีย์ส่งทางโรงแรม และเป็นจุดเริ่มต้นของ “สามพรานโมเดล”
บททดสอบความตั้งใจ
โครงการ “สามพรานโมเดล” ที่เรารู้จักทุกวันนี้ ใครจะรู้ว่าเกือบจะไม่เกิดขึ้นเสียแล้ว “เค้าเข้าใจว่าเราจะมาช่วย แต่เค้าไม่มั่นใจว่าเราจะช่วยจริงหรือเปล่า เพราะจริงๆเค้าก็เจอโครงการที่สนับสนุนการเกษตรมา แต่โครงการมันมักจะไม่ต่อเนื่อง คือเค้าไม่ค่อยชัวร์ว่าเรามาดีหรือเปล่าและเค้าก็ค่อนข้างต่อต้าน” แรงเสียดทานดังกล่านี้เกือบจะทำให้ความตั้งใจของพี่อรุษหมดไปถ้าไม่ได้ความช่วยเหลือของอาจารย์จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตศาสตร์ ที่ได้มาช่วยพูดคุยกับเหล่าเกษตรกรด้วย “ถ้าอาจารย์ไม่ได้มาช่วยด้วยผมคงเลิกล้มความตั้งใจ เพราะว่าเราก็รู้สึกว่าเราจะไปเหนื่อยทำไมถ้าเค้าไม่เห็นประโยชน์ตรงนี้”
ผลิตผลที่ยั่งยืน
เวลา 5 ปีผ่านไปโครงการ “สามพรานโมเดล” ได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นโครงการดีๆที่ช่วยเปลี่ยนวิธีคิดของเกษตรกรในการทำการเกษตรและการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพและยั่งยืนมากขึ้น “สิ่งสำคัญที่จะทำให้โครงการนี่ยั่งยืนได้คือการเปลี่ยนความคิดให้เค้าเชื่อในเกษตรอินทรีย์ ถ้าค้าเชื่อแล้วนะ อะไรก็มาทำอะไรเค้าไม่ได้” พี่อรุษกล่าว
พี่วัลลภ หนึ่งในเกษตรกรอินทรีย์ได้เล่าถึงประสบการณ์ของตนเองอย่างภาคภูมิใจว่าสวนคะน้าฮ่องกงและเห็ดอินทรีย์ของพี่วัลลภนั้นปลอดสารเคมีใดๆ สะอาดและปลอดภัย “เรากล้าพูดต่อหน้าฟ้าได้เลยว่าผักเราสะอาด แล้วก็ดีต่อสุขภาพ เพราะเราไม่ใส่สารเคมีเลย ในน้ำเราก็เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา อาทิตย์นึงขายได้เป็นสิบโล” เห็นได้ชัดเลยว่าโครงการ “สามพรานโมเดล” นั้นให้มากกว่าพืชผักอินทรีย์ แต่ได้สร้างความภูมิใจในอาชีพเกษตรกรที่เป็นเสาหลักของเศรษฐกิจไทยอีกด้วย
อิ่มกายสบายอารมณ์ที่ “ตลาดสุขใจ”
“ตลาดสุขใจ” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “สามพรานโมเดล” โดยที่ตลาดสุขใจนั้นเป็นตลาดนัดสุดสัปดาห์ เปิดทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00น. และขายพืชผักผลไม้อินทรีย์จากเกษตรกรโดยตรง “ตลาดสุขใจเป็นที่ที่ผู้บริโภคและเกษตรกรมาเจอกัน คนซื้อก็จะรู้ไปเลยว่าข้าวที่ซื้อมาจากใคร เกษตรกรเองก็จะได้เห็นว่าทำเกษตรอินทรีย์แล้วมีคนซื้อ ไม่ต้องพึ่งรัฐ ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง พึ่งตัวเองและธรรมชาติ”
ผู้บริโภคสามารถวางใจกับผลผลิตที่ถูกนำมาขายที่ตลาดสุขใจได้อย่างเต็มที่เพราะทางโครงการ “สามพรานโมเดล” ได้มีขั้นตอนในการตรวจสอบอย่างละเอียดว่าผลิตผลที่จำหน่ายในตลาดนั้นเป็นผลิตผลอินทรีย์ที่แท้จริง “เรามีการสุ่มตรวจทุกอาทิตย์เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าที่ตลาดสุขใจมีแต่ผลิตภัณฑ์อินทรีย์จริงๆ มาตราฐานของตลาดเรามีอยู่ 3 เขียว เขียวอ่อนคือยังแค่
ปลอดภัยอยู่ เขียวกลางที่สินค้าส่วนใหญ่นี่คือเข้าสู่ระบบ และเขียวเข้มที่ได้ใบรับรองอย่างเป็นทางการแล้ว”
ที่สำคัญผักผลไม้คุณภาพเยี่ยมเหล่านี้มีราคาที่สมเหตุสมผลและคนทั่วไปสามารถซื้อได้ “ผักออร์แกนิคไม่จำเป็นต้องแพง” พี่อรุษอธิบาย ปัจจุบันนี้ตลาดสุขใจได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้นทำให้เกษตรกรที่ยังคงพึ่งเคมีทางการเกษตรอยู่นั้นหันมาสนใจเกษตรอินทรีย์มากขึ้น โดยทางโครงการ “สามพรานโมเดล” ได้มีการจัดการบรรยายและสาธิตการเกษตรวิถีอินทรีย์ต่อเกษตรกรผู้สนใจอยู่เรื่อยๆค่ะ
หากเพื่อนๆสนใจอยากจะไปเยี่ยมชมโครงการ “สามพรานโมเดล” และชิมผักผลไม้อินทรีย์ของคุณน้าเกษตรกรของตลาดสุขใจ สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 034-322-588 ค่ะ
อีกส่วนหนึ่งของ การเดินทาง ที่ทุกคนต่างให้ความสำคัญไม่แพ้จุดหมายปลายทางเลย ก็คือ ที่พัก เพราะเป็นส่วนสำคัญในการเตรียมกายและใจสำหรับการเดินทางในวันรุ่งขึ้น แต่จะมัวนอนพักในบรรยากาศเดิมๆ คงเป็นเรื่องน่าเบื่อ ดังนั้น ที่พักแบบ Camping จึงได้ถือกำเนิดขึ้น
ให้ความรู้สึกผจญภัยเต็มเปี่ยม
ทุกครั้งที่ได้ตั้งแคมป์ชวนให้ภาพบรรยากาศเหมือนการเข้าค่ายลูกเสือในวัยเด็ก ทุกอย่างดูตื่นเต้น น่าสนุกและยังได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติเป็นพิเศษ ด้วยสถานที่ตั้งรวมทั้งอุปกรณ์ตั้งแคมป์ต่างๆ ที่คุณต้องจัดการเอง เหนื่อยนิดแต่สนุกมาก